สื่อการเรียนรู้ เรื่อง การสร้าง Web site

เรื่อง ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

../picture/p2.jpg

หน้าแรก

วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายของโรงเรียน

ประวัติของโรงเรียน

แผนที่การเดินทาง

ที่ตั้ง: โรงเรียนสงวนหญิง 134 ถ.ประชาธิปไตย ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี Tel: 035-521659,035-521631 Fax:035-525568 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 9

 

สรุปความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐกิจ

 

เศรษฐศาสตร์เป็นสาขาวิชาหนึ่งของสังคมศาสตร์ ศึกษาเกี่ยวกับการเลือกวิธีการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปในการผลิตสินค้า

และบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุดแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์มีการพัฒนามาเป็นลำดับขั้น

กล่าวคือ ลัทธิพาณิชย์นิยมคือพวกที่นิยมในการทำการค้า นักพาณิชย์นิยมมีความเชื่อว่าประเทศจะมีความมั่งคั่งในทางเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อประเทศ

มีดุลการค้าที่เกินดุล โดยสนับสนุนให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการควบคุมและแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สำนักคลาสสิกโดยการนำของ

อดัม สมิท (บิดาแห่งวิชาเศรษฐศาสตร์) เชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศจะมั่งคั่งก็ต่อเมื่อรัฐไม่เข้ามาแทรกแซงในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยปล่อยให้

กลไกตลาด (ราคา) เป็นกลไกในการจัดสรรทรัพยากร สำนักนีโอคลาสสิกคล้ายกับของกลุ่มคลาสสิก คือสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจแบบเสรีโดยเน้น

ให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและประหยัด สำนักเคนส์สนับสนุนให้รัฐเข้ามามีบทบาทในกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยใช้นโยบายการเงินการคลัง

เข้ามาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการขยายตัวไปในทิศทางที่พึงประสงค์ ปัจจุบันเราแบ่งการศึกษาเศรษฐศาสตร์ออกเป็น 2 สาขา คือ เศรษฐศาสตร์-

จุลภาค (ศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจส่วนย่อย) กับ เศรษฐศาสตร์มหภาค (ศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐกิจส่วนรวม) ผู้ที่จะศึกษาเศรษฐศาสตร์ได้ดีและสามารถ

นำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปใช้ให้เกิดผล นอกจากจะต้องศึกษาเศรษฐศาสตร์ทั้งสองสาขาเป็นอย่างดีแล้วยังจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร

์อื่นๆในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ด้วย เช่น นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ จิตวิทยา ประวัติศาสตร์ บริหารธุรกิจ คณิตศาสตร์และสถิติ เป็นต้น และจาก

ความไม่สมดุลระหว่างปริมาณทรัพยากรของโลกกับความต้องการของมนุษย์ ทำให้ทุกๆประเทศในโลกต่างประสบกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

3 ประการ คือ ผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาพื้นฐานก็ขึ้นอยู่กับว่าประเทศนั้นๆเป็นระบบเศรษฐกิจแบบใด

กล่าวคือ หากเป็นระบบทุนนิยม จะใช้กลไกราคา ระบบคอมมิวนิสต ์จะใช้กลไกรัฐ ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม จะใช้กลไกรัฐเป็นหลัก กลไก

ราคามีบทบาทอยู่บ้าง แต่ค่อนข้างจำกัด ส่วน ระบบเศรษฐกิจแบบผสม จะใช้ทั้งกลไกราคาและกลไกรัฐร่วมกันในการจัดสรรทรัพยากร

../picture/p13.jpg ../picture/p14.jpg

 

 

 
Free Web Hosting